Category Archives: ฟิสิกส์น่ารู้

Doppler Effect ?

คลื่นกลเกิดขึ้นได้อย่างไร

คลื่นกล

การซ้อนทับของคลื่น

‘นาซ่า’ปล่อยยานอวกาศคิวริออสซิที(Curiosity) ลงจอดดาวอังคารสำเร็จ

‘นาซ่า’ปล่อยยานอวกาศลงจอดดาวอังคาร

ยานสำรวจดาวอังคาร ‘คิวริออสซิตี้’ ที่แพงที่สุดของนาซ่า สัมผัสผิวดาวอังคารแล้ว

Curiosity

      6 ส.ค.55 ยานสำรวจ “คิวริออสซิตี้” มูลค่า 2,500 ล้านดอลล่าร์ หรือราว 75,000 ล้านบาท ขององค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซ่า ได้ลงจอดบนดาวอังคาร และได้ส่งสัญญาณว่าภารกิจได้ลุล่วงแล้ว กลับไปยังศูนย์ควบคุมที่พาซาเดน่า รัฐแคลิฟอร์เนียว่าสามารถลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร หรือ ดาวแดง เรียบร้อยแล้ว หลังจากใช้เวลาในการเดินทางนานถึง 8 เดือน ถือเป็นภารกิจสำรวจดาวอังคารที่แพงที่สุดและทะเยอทะยานที่สุด

เจ้าหน้าที่ของศูนย์ควบคุม เจ็ต พร็อพพุลชั่น แลบอราทอรี่ ของนาซ่า เปิดเผยว่า สามารถยืนยันได้ว่ายานลงจอดแล้วจริงๆ ขณะที่ยานสำรวจ คิวริออสซิตี้ ซึ่งเป็นประเภท โรเวอร์ น้ำหนัก 1 ตัน ที่สามารถวิ่งบนพื้นผิวดาวอังคารได้ ได้ชื่อว่า เป็นยานที่มีความไฮเทคมากที่สุดของนาซ่า เท่าที่เคยออกแบบมา และลงจอดด้วยระบบอะโครเบติก คือ เมื่อถูกปล่อยออกมาแล้ว สามารถจุดระเบิดด้วยตัวเองก่อนลงจอด และส่วนที่ลงจอดคือส่วนที่มีล้อสำหรับการใช้งานจริง

เผยภาพแรกดาวอังคาร จากยาน คิวริออสซิที

ภาพแรกของยานสำรวจที่จะเห็นเงาของยานกระทบกับพื้นผิวของดาวอังคาร เป็นภาพประวัติศาสตร์ และถือเป็นความสำเร็จขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ

ภาพล้อของยานจากยานคิวริออซิตี ที่จอดบนพื้นผิวดาวอังคาร (เอเอฟพี/นาซาทีวี)


               ยานคิวริออสซิที(Curiosity) ยานภารกิจสำรวจดาวอังคารขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ นาซา เตรียมลงจอดพื้นผิวดาวอังคาร และส่งสัญญาณกลับมายังโลกในวันนี้ (6ส.ค.) โดยยานดังกล่าว จะทำการสำรวจดาวอังคารว่า มีสภาพภูมิประเทศเป็นเช่นไร และภูมิอากาศบนดาวอังคารเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่ และกุญแจสำคัญของยานนี้จะเป็นสิ่งบ่งบอกว่า หากบนดาวอังคารมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ก็เป็นความหวังให้มนุษย์เดินทางไปสำรวจดาวอังคาร มากขึ้น รวมไปถึงตั้งรกรากในอนาคต

                        ยานคิวริออสซิตี้ ถูกปล่อยลงบนชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร บนพื้นที่ 20,920.5 ล้านกิโลเมตร ถ้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ยานลำนี้จะเคลื่้อนตัวอย่างช้าๆ ไปยังหลุมขนาดใหญ่ โดยการขับเคลื่อนอัตโนมัติ และวิศวกรจะคอยจับตาดูว่า มันสามารถทำงานได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่

นาซ่ายกย่องความสำเร็จครั้งนี้ เทียบเท่ากับซูเปอร์โบว มีการเชิญบรรดาคนที่มีชื่อเสียงไปร่วมเป็นสักขีพยานมากกว่า 1

ที่มา :  คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 06-08-2555

โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร? กำเนิดโลก ตอนที่ 1

ดาวอังคารโคจรใกล้โลกที่สุด 5 มี.ค.55

นักดาราศาสตร์ ระบุว่า ปรากฏการณ์อังคารจะโคจรใกล้โลกมากที่สุดในคืนวันที่ 5 มีนาคม จนถึงเช้าวันที่ 6 มีนาคม มีระยะห่างเพียง 100 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะส่องประกายสีส้มแดง
 

นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ดาวอังคารจะโคจรมาใกล้โลก ทุกๆ ประมาณ 2 ปี ซึ่งจะเป็นช่วงที่ดาวอังคารจะมีคาบการโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวง อาทิตย์ ในวันที่ 3 มีนาคม 2555 ดาวอังคารจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

จากนั้น ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่ระยะห่าง 100 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเข้าใกล้กันมากที่สุดในรอบ 26 เดือน เป็นผลให้เราสามารถสังเกตเห็นดาวอังคารสีส้มแดงสว่างมากกว่าปกติ โดยจะสว่างกว่าในช่วงที่สว่างน้อยที่สุดประมาณ 17 เท่า และจะปรากฏบนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน ทั้งนี้ ดาวอังคารจะขึ้นเวลา 18 นาฬิกา 16 นาที ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตกในเวลา 06 นาฬิกา 41 นาที ของวันที่ 6 มีนาคม 2555 ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปรากฏบนท้องฟ้าใกล้กลุ่มดาวสิงโต

ปกติ แล้วเราจะมองเห็นดาวอังคารส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า เนื่องจากพื้นผิวของดาวอังคารมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กออกไซด์ จึงเรียกฉายาของดาวอังคารว่า “ดาวเคราะห์สีแดง” ครั้งล่าสุดที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2553 และจะเกิดขึ้นในครั้งต่อไปในวันที่ 14 เมษายน 2557 ตามปกติดาววงจรอยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 57 ล้านกิโลเมตร และ 376 ล้านกิโลเมตร เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี

 

ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/marsclose.html

การสร้างภาพยนตร์ 3 มิติ ?


คงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่ากระแสของเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ กำลังมาแรงในปัจจุบัน ภาพยนตร์ 3 มิติ ต่างแข่งขันกันลงโรงไม่ขาดสายตลอดทั้งปี ทั้งๆที่บัตรเข้าชมโรงภาพยนตร์ 3 มิติ นั้นมีราคาแพงกว่าภาพยนตร์ธรรมดาอยู่ไม่น้อย แต่เราก็มักจะยอมควักกระเป๋าจ่าย เพื่อแลกกับอรรถรสในการชมภาพยนตร์แบบสมจริงถึงขั้นที่ต้องนั่งหลบกระสุนหรือดาบไปพร้อมๆกับนักแสดงเลยทีเดียว แล้วเคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า ภาพยนตร์ 3 มิตินั้น มีหลีกการอย่างไร ทำไมถึงต้องใส่แว่นในขณะรับชม มาร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ 3 มิติด้วยกัน
 ภาพยนตร์ 3 มิติ เกิดจากการใช้เครื่องถ่ายภาพยนตร์ 2 เครื่อง ซ้ายและขวาถ่ายภาพเดียวกันในเวลาเดียวกัน ในการฉายก็ใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง ฉายภาพ 2 ภาพลงไปบนจอภาพยนตร์ พร้อมๆกัน เทคโนโลยีการแสดงภาพ  3 มิติ นั้นมีมานานแล้วนะครับ โดยในยุคแรกนั้น วิธีดูภาพยนตร์  3 มิติ โดยใช้แว่นสีแดงน้ำเงิน ส่วนในปัจจุบันนั้นการดูภาพยนตร์  3 มิติ ต้องสวมแว่นโพลารอยด์ เราลองมาศึกษารายละเอียดของวิธีชมภาพยนตร์ 3 มิติ ทั้ง 2 วิธีนี้

1. การดูภาพยนตร์ 3 มิติ โดยใช้แว่นสีแดง-น้ำเงิน

รูปแสดงแว่น 3 มิติ แบบแดง-น้ำเงิน

การดูภาพยนต์ 3 มิติ ด้วยวิธีนี้นั้นใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง เครื่องแรกฉายผ่านกระจกกรองแสงสีแดงฉายภาพที่มีสีแดง เครื่องที่สอง ฉายผ่านกระจกกรองแสงสีน้ำเงินฉายภาพที่มีสีน้ำเงิน ฉายพร้อมกันไปที่จอภาพยนตร์ โดยให้ผู้ชมสวมแว่นที่ข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงินและข้างหนึ่งเป็นสีแดง

 

รูปแสดงภาพที่เกิดจากการฉายภาพจากกล้องทั้ง 2 สี คือสีแดง-น้ำเงิน ลงบนจอภาพยนตร์

 ถ้าหากเราใช้ปากกาสีแดงและสีน้ำเงินเขียนตัวหนังสือลงบนกระดาษสีขาว เมื่อมองผ่านแว่นสีแดงจะเห็นกระดาษขาวทั้งแผ่นกลายเป็นสีแดงและตัวหนังสือสีแดงจะกลมกลืนไปทำให้มองไม่เห็น แต่สีน้ำเงินจะผ่านแว่นสีแดงไม่ได้ จึงมองเห็นตัวหนังสือเป็นสีดำ ในทำนองเดียวกันเมื่อมองผ่านแว่นสีน้ำเงินจะมองไม่เห็นตัวหนังสือสีน้ำเงิน แต่มองตัวหนังสือสีแดงกลายเป็นสีดำไป (หลักการเรื่องนี้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสเปกตรัมของแสง และการมองเห็นสีของวัตถุ)
ดังนั้น เมื่อผู้ชมสวมแว่นสีแดงและสีน้ำเงินมองภาพสีแดงและสีน้ำเงิน ตาข้างหนึ่งก็จะมองเห็นแต่ภาพของสีน้ำเงินในขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งก็จะเห็นแต่ภาพสีแดง สมองจะรวมภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง และสร้างภาพในการรับรู้ของเราเป็นภาพ 3 มิติ ดังแผนภาพด้านล่าง

 

2. การดูภาพยนตร์ 3 มิติ โดยใช้แว่นโพลารอยด์

รูปแสดงแว่น 3 มิติ แบบโพลารอยด์

 ภาพยนตร์ 3 มิติ อีกระบบหนึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ผู้ชมต้องสวมแว่นโพลารอยด์ ซึ่งภาพยนตร์ 3 มิติแบบนี้นั้น นำปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ของแสงมาประยุกต์ใช้ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวคือ โพลาไรเซชันของแสง (polarization of light) คำถามต่อมาก็คือ… แล้วการโพลาไรเซชันของแสงคืออะไร

เราทราบกันดีว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงทิศกลับไปกลับมา โดยสนามทั้งสองอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกันและยังตั้งฉากกับทิศในการเคลื่อนที่ของแสง ดังรูป

รูปแสดงทิศของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

 แสงจากแหล่งกำเนิดแสงโดยทั่วไป เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ จะปล่อยคลื่นแสงซึ่งไม่ได้มีทิศของสนามไฟฟ้าเพียงทิศเดียว(และสนามแม่เหล็ก) แต่จะมีทิศของสนามไฟฟ้า ต่างกันมากมาย เราจะเรียกแสงที่มีทิศการสั่นของสนามไฟฟ้าในแนวเดียวว่า “แสงโพลาไรซ์” และเรียกแสงที่มีทิศของสนามไฟฟ้าในหลายแนว เช่น แสงจากหลอดไฟว่า “แสงไม่โพลาไรซ์”

รูปแสดงระนาบของแสง

 ภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ใช้หลักการโพลาไรเซชันของแสง ดั้งนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้แสงธรรมดา(แสงไม่โพลาไรซ์) กลายเป็นแสงโพลาไรซ์ ซึ่งสามารถทำได้โดย การให้แสงธรรมดาเคลื่อนที่ผ่านแผ่นโพลารอยด์เพราะแผ่นโพลารอยด์นั้นจะมีแกนผลึกซึ่งจะดูดกลืนสนามไฟฟ้าและยอมให้เฉพาะสนามไฟฟ้าที่มีทิศขนานกับแกนผลึกของแผ่นโพลารอยด์ผ่านออกมาได้ ดังนั้นแสงที่ผ่านออกมาจากแผ่นโพลารอยด์จึงกลายเป็นแสงโพลาไรซ์

 

รูปแสดงการสร้างแสงโพลาไรซ์ด้วยแผ่นโพลารอยด์

จากรูปจะเห็นได้ว่า เมื่อแสงธรรมดาผ่านแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 1 แสงที่ออกมาจะเป็นแสงโพลาไรซ์ (มีทิศของสนามไฟฟ้าเพียงแนวเดียว) และถ้าให้แสงเดินทางต่อไปยังแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 2 ซึ่งมีแกนของแผ่นโพลารอยด์ตั้งฉากกับแผ่นแรก แสงก็จะไม่สามารถผ่านแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 2 นี้ออกไปได้ หากจะกล่าวให้เห็นภาพก็คือหากเรานำแผ่นโพลารอยด์ 2 แผ่นซึ่งมีแกนของผลึกตั้งฉากกันมาซ้อนกันและใช้ส่องมองดวงไฟ เราจะไม่เห็นแสงจากดวงไฟเลยนั่นเอง

สำหรับแว่นโพลารอยด์สำหรับชมภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ทิศทางของแกนโพลาไรซ์ของแสงของแสงที่ผ่านแว่นตาทั้งสองจะอยู่ในแนวตั้งฉากกัน ดังนั้นแสงโพลาไรซ์ที่ผ่านแว่นข้างขวาได้จะไม่สามารถผ่านแว่นข้างซ้ายได้ และแสงโพลาไรซ์ที่ผ่านแว่นข้างซ้ายได้ก็จะไม่สามารถผ่านแว่นข้างขวาได้เช่นเดียวกัน

 เมื่อใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง แต่ละเครื่องมีแผ่นโพลารอยด์กั้น ฉายภาพที่เป็นแสงโพลาไรซ์พร้อมกันทั้ง 2 เครื่อง ไปยังจอภาพยนตร์ที่ทำจากโลหะ (การสะท้อนแสงของโลหะจะไม่เปลี่ยนทิศทางของแสงโพลาไรซ์) ทำให้ทิศทางการสั่นของแสงโพลาไรซ์ทั้ง 2 ชุด อยู่ในแนวตั้งฉากกัน ภาพที่เราเห็นปรากฎบนจอโดยไม่สวมแว่นโพลารอยด์ จึงเป็นภาพ 2 ภาพซ้อนเหลื่อมกันในลักษณะดังนี้

รูปแสดงภาพยนตร์ 3 มิติที่ปรากฏเมื่อไม่ได้สวมแว่นโพลารอยด์

ผู้ชมที่สวมแว่นโพลารอยด์ แว่นข้างซ้ายจะให้ภาพจากเครื่องฉายด้านซ้ายผ่านได้เท่านั้น ในขณะที่แว่นข้างขวาก็จะให้ภาพจากเครื่องฉายด้านขวาผ่านได้เท่านั้น สมองจะรวมภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง และสร้างภาพในการรับรู้ของเราเป็นภาพ 3 มิติ ดังแผนภาพด้านล่าง

คงทราบแล้วว่าภาพยนตร์ 3 มิติ นั้นมีหลักการอย่างไร แต่ผมยังมีประเด็นทิ้งท้ายไว้ หากเราลองหลับตา 1 ข้าง ในขณะที่สวมแว่นโพลารอยด์รับชมภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ภาพที่เห็นจะเป็นอย่างไร แบกความอยากรู้เข้าไปอาจช่วยให้การชมภาพยนตร์ 3 มิติ ของคุณสนุกขึ้นก็ได้

ที่มา  :  http://www.scimath.org